การเข้ามาของ AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น แต่หลายคนมองข้ามคำถามที่สำคัญ คือ ใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานเหล่านั้นกันแน่? บทความนี้จะพาไปสำรวจเบื้องหลังและประเด็นที่อาจเปลี่ยนอนาคตของการสร้างสรรค์

วัตถุประสงค์

รายงานประเด็นทางกฎหมายและลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ นี้ จัดทำโดยสำนักงานลิขสิทธิ์แห่งสหรัฐฯ (U.S. Copyright Office) มีเป้าหมาย เพื่อวิเคราะห์ปัญหา, ข้อถกเถียงที่เกิดจากความก้าวหน้าของ AI และผลกระทบต่อกฎหมายลิขสิทธิ์ เอามา สร้างแนวทางที่เป็นประโยชน์สำหรับการพิจารณาลิขสิทธิ์ของผลงานที่สร้างโดย AI ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนในยุคปัจจุบัน ไม่เพียงการปกป้องความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ และสร้างความชัดเจน, ลดความสับสนในสังคม

ภาพประกอบจาก Raphael.app

บทนำ

รายงานของสำนักงานลิขสิทธิ์เกี่ยวกับ AI พูดถึง ผลงานที่สร้างโดย AI ควรได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรือไม่ การมีส่วนร่วมของมนุษย์จะช่วยค้นหาทางออกให้กับทุกฝ่าย หาก AI เป็นแค่เครื่องมือช่วย ผลงานยังได้ลิขสิทธิ์ปกติ แต่ถ้า AI สร้างเองทั้งหมด โดยไม่มีมนุษย์มาเกี่ยวข้อง ก็ไม่ได้รับการคุ้มครอง

ในปี 2023 สำนักงานลิขสิทธิ์เริ่มโครงการใหญ่ มีชื่อว่า AI Initiative เพื่อศึกษาและออกแนวทางใหม่ โดยมนุษย์ต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้าง และเปิดรับฟังความคิดเห็น ในเรื่อง การปรับกฎหมายลิขสิทธิ์ให้เข้ากับยุค AI ซึ่งสะท้อนถึงความท้าทายในการกำหนดขอบเขตระหว่าง “มนุษย์” และ “เครื่องจักร” ในโลกของการสร้างสรรค์

สำนักงานเปิดรับความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญ 5 ข้อ ดังนี้

  1. รัฐธรรมนูญสหรัฐฯ อนุญาตให้ AI ได้รับลิขสิทธิ์ไหม?
  2. ถ้ามนุษย์ใช้ AI สร้างผลงาน มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานไหม?
  3. เราควรมอบการคุ้มครองทางกฎหมายให้ AI ไหม?
  4. ถ้าใช่ ควรเป็นลิขสิทธิ์หรือสิทธิเฉพาะแบบแยก?
  5. จำเป็นต้องแก้กฎหมายลิขสิทธิ์เพื่ออธิบายเรื่อง “มนุษย์ต้องเป็นผู้สร้าง” ไหม?

ความเป็นผู้สร้างสรรค์และปัญญาประดิษฐ์

เจาะลึกถึงประเด็น “ความเป็นผู้สร้างสรรค์” ในบริบทของ AI ในการสร้างสรรค์ผลงาน มี 6 ประเภท ดังนี้

1. พื้นฐานทางเทคโนโลยี:

ระบบ AI สร้างผลงานจากข้อมูลนำเข้า เช่น ข้อความ, รูปภาพ, หรือเสียง ความไม่แน่นอนของ Prompt ทำให้เกิดผลลัพธ์ของ AI ที่แตกต่างกัน แม้ใช้ Prompt เดียวกัน ยังเกิดข้อผิดพลาดได้

2. กรอบกฎหมาย:

กฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ กำหนดว่า ต้องมีมนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ จึงจะได้รับการคุ้มครอง ศาลปฏิเสธการให้ลิขสิทธิ์แก่ผลงานที่สร้างโดยไม่ใช่คน หากมนุษย์มีส่วนร่วมด้านการเลือกผลงานที่ AI สร้างขึ้น ผลงานนั้นก็อาจได้รับการคุ้มครอง

ผลงานของ AI ที่มีส่วนร่วมของมนุษย์ในการสร้าง มี 3 ประเภท

  • Prompt ที่สั่งให้ AI สร้าง คำตอบ
  • Input สามารถรับรู้และมีความชัดเจนได้ในผลงานที่ AI สร้างขึ้นมา
  • การแก้ไขหรือจัดเรียงผลงานที่ AI สร้างขึ้นใหม่

3. การใช้ AI เป็นเครื่องมือช่วยเหลือ:

    การใช้ AI เป็นเครื่องมือช่วยในการสร้างสรรค์ เช่น การปรับแต่งภาพหรือเสียง สำนักงานยังเห็นด้วยว่า การใช้ AI ช่วยเสริมการแสดงออกของมนุษย์ไม่กระทบต่อการได้รับลิขสิทธิ์ ถ้ากรณีที่ใช้ AI ตัดสินใจเชิงสร้างสรรค์ ก็ขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้ระบบ AI ด้วย

    ยกตัวอย่างเช่น The Recording Academy บอกว่า สมาชิกหลายคนใช้ AI ที่สร้างผลงานได้นั้นเป็นเครื่องมือช่วยในการสร้างดนตรี โดยใช้งาน เพื่อขอไอเดียจากคำตอบของ AI จากสถานการณ์นี้การใช้ AI ไม่มีผลต่อลิขสิทธิ์

    4. Prompts:

    การใช้ Prompt ไม่ถือว่าเป็นการสร้างสรรค์ที่เพียงพอสำหรับการได้รับลิขสิทธิ์ แม้ว่ามีลักษณะของการสร้างสรรค์ แต่ไม่เพียงพอที่จะถือว่าเป็นผู้สร้างสรรค์ผลลัพธ์ของ AI เพราะเป็นการป้อนคำสั่งจากผู้ใช้งาน การปรับแก้คำสั่งซ้ำ ๆ ก็ไม่ได้เปลี่ยนข้อเท็จจริงนี้ 

    แต่บางคนก็แย้งว่า การใส่ Prompt ที่มีความซับซ้อน ระบุรายละเอียดต่าง ๆ ที่มากพอ ก็อาจจะตอบโจทย์เรื่อง การเป็นผู้สร้างที่เป็นมนุษย์ เช่น สไตล์ ท่าทาง มุมกล้อง

    การวิเคราะห์ว่า ผลงานนั้นได้รับลิขสิทธิ์ไหม สำนักงานยังเห็นว่า การสั่งงานด้วยเครื่องจักร หรือเลือกผลงานจากตัวเลือกที่ถูกเสนอมา โดยไม่ได้กระทำเชิงสร้างสรรค์ นั้นถือว่า ไม่ใช่ผู้สร้าง

    ความท้าทายของลิขสิทธิ์เกี่ยวกับ Prompt นั้นเป็นเรื่องใหญ่

    5. ข้อมูลนำเข้าเชิงสร้างสรรค์:

    ผู้ใช้ใส่ข้อมูลที่เป็นผลงานสร้างสรรค์ของตนเองลงไป เช่น ภาพวาด, ข้อความ, วีดิโอหรือเพลง และใช้ AI แก้ไข ผลงานที่ได้อาจมีลิขสิทธิ์ในส่วนที่ เป็นมนุษย์สร้างเท่านั้น ส่วนที่ AI สร้างไม่ได้รับการคุ้มครอง เพราะมนุษย์เป็นหัวใจของการสร้างสรรค์

    6. การแก้ไขหรือจัดเรียงผลงานที่สร้างโดย AI: 

    ผลงานที่สร้างโดย AI มาแก้ไขหรือจัดเรียงใหม่ อาจได้รับการคุ้มครองในส่วนของการแก้ไขหรือจัดเรียงที่มนุษย์ทำ

    แนวทางในระดับนานาชาติ

    จะสำรวจแนวทางการพิจารณาประเด็นลิขสิทธิ์และ AI ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก 

    หลายประเทศกำลังพิจารณาว่าผลงานที่ AI สร้าง ควรได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์หรือไม่ โดยส่วนใหญ่เห็นว่า ลิขสิทธิ์ต้องการผู้สร้างที่เป็นมนุษย์ เช่น

    • เกาหลีใต้ระบุว่า ผลงาน AI จะได้รับการคุ้มครองเฉพาะส่วนที่มนุษย์มีส่วนร่วมสร้างสรรค์เท่านั้น
    • ญี่ปุ่น ระบุว่า พิจารณาจาก การสร้างและเลือกผลงานหลาย ๆ ชุด รวมถึงการปรับแต่งแก้ไขเพิ่มเติมด้วย AI จากความคิดของมนุษย์
    • จีน ระบุว่า ต้องมีมนุษย์เป็นผู้สร้างและใช้ความคิดสร้างสรรค์ ถึงจะได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
    • สหภาพยุโรป: ผลงานนั้นหากมนุษย์มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ จะได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์

    บางประเทศมีกฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ที่ยังไม่ชัดเจน

    • สหราชอาณาจักร: งานที่คอมฯสร้างขึ้นแบบไม่มีผู้สร้าง ถือว่า เจ้าของผลงานคือ คนที่จัดเตรียมการเป็นคนสร้าง
    • อินเดีย, ฮ่องกงและนิวซีแลนด์: ไม่มีความชัดเจนว่า งาน AI นี้จะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ไหม
    • แคนาดา: รัฐสภายังไม่ดำเนินการความชัดเจนเกี่ยวกับเจ้าของงานที่ AI สร้าง
    • ออสเตรเลีย: เปิดรับฟังความเห็นด้านมนุษย์มีส่วนร่วมกับ AI แต่ไม่มีความคืบหน้าการเสนอวิธีแก้ไขใด ๆ

    จากที่เห็น กฎหมายบางประเทศ เริ่มตื่นตัวและเอามาปรับใช้ แต่บางประเทศยังไม่มีความคืบหน้าในการนำกฎหมายมาใช้งานอย่างจริงจัง เพราะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน และข้อถกเถียงที่ไม่สามารถแก้ปัญหา เพื่อหาทางออกร่วมกันได้

    ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย 

    1. การให้แรงจูงใจ: ผลงานที่ AI สร้าง จะช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและความรู้ แต่หลายคนก็กังวลว่ามันอาจลดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ของมนุษย์ จนมนุษย์ไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าได้อีก หรือถูกครอบงำด้วยผลงานคุณภาพต่ำที่ AI สร้าง
    2. การสนับสนุนครีเอเตอร์สำหรับคนพิการ: AI เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนพิการสามารถสร้างสรรค์ผลงานและปรับปรุงการสื่อสารให้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น Randy Travis ใช้ AI ช่วยสร้างเสียงร้องหลังจากประสบโรคหลอดเลือดสมอง
    3. การต่อสู้การแข่งขันจากต่างประเทศ: บางประเทศอาจใช้นโยบายเอื้อประโยชน์ต่อ AI เพื่อแข่งขันในเวทีโลก แต่สหรัฐฯ ยึดมั่นในหลักการลิขสิทธิ์ของเขาเอง โดยมุ่งเน้นให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางและเป็นส่วนสำคัญของลิขสิทธิ์
    4. การให้ความชัดเจนมากยิ่งขึ้น: ความชัดเจนในกฎหมายด้านลิขสิทธิ์เป็นสิ่งสำคัญ ยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้และผู้พัฒนา AI แม้ว่า สภาคองเกรสจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างถี่ถ้วน เพราะผลงานแต่ละชิ้น ต้องวิเคราะห์และบริบทในการสร้าง ในกฎหมายไม่มีกำหนดเส้นแบ่งที่ชัดเจนมาก เว้นแต่จะเจอปัญหาใหม่ ๆ ดังนั้น สำนักงานลิขสิทธิ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย

    บทสรุปของเนื้อหานี้

    รายงานสรุปว่า กฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก AI โดย ไม่ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย การพิจารณาความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ยังพิจารณาที่ การมีส่วนร่วมของมนุษย์ในการสร้างสรรค์ เป็นที่สำคัญที่สุด ความคิดสร้างสรรค์ที่แท้จริงยังคงมาจากมนุษย์ ไม่ใช่เครื่องจักร

    ข้อสรุป:

    รายงาน U.S. Copyright Office ชี้ชัดว่า “มนุษย์” ยังเป็นหัวใจสำคัญของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ จะพิจารณาที่ การมีส่วนร่วมของมนุษย์ในการสร้างสรรค์ หากคุณนำ AI มาใช้ในการทำงาน ดูว่า การปรับแต่งผลงานนั้นเป็นอย่างไร รวมถึงศึกษาข้อกฎหมายต่างๆ, ฟังความเห็นจากการไต่สวน และข้อมูลอื่น ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงเป็นคู่มือที่มีความยุติธรรมด้านผลงาน AI ที่มีต่อลิขสิทธิ์กับทุกฝ่าย

    Source:

    Copyright Gov USA, Venturebeat, lexology