วิธีใช้งาน ChulaGENIE

เคยไหมที่นักศึกษาอยากมี AI สักตัว ไว้ใช้เพื่อการเรียนรู้ในยุค AI แต่เลือกไม่ได้ว่า จะใช้โมเดล AI ตัวไหน ตอบโจทย์กับการใช้งานให้คุ้มค่าที่สุด ทางจุฬาฯ เปิดบริการ ChulaGENIE ให้กับบุคลากรและคณาจารย์แล้ว วันนี้เปิดให้นิสิต นักศึกษาได้ใช้งานแพลตฟอร์มนี้เป็นวันแรก

ChulaGENIE แพลตฟอร์ม Gen AI ช่วยยกระดับการทำงาน การเรียนการสอน งานวิจัยและการเรียนรู้ที่ทันสมัยกับเหล่าบุคลากรและนิสิตจุฬาฯ ในด้านการศึกษา

28 พ.ย. 2567 จุฬาฯ จับมือ Google Cloud เปิดตัว ChulaGENIE แพลตฟอร์ม AI สร้างสรรค์เนื้อหาอัจฉริยะครั้งแรกของไทยที่ออกแบบมาเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะครับ

ไม่ใช่แค่ช่วยทำงานเร็วขึ้น ใช้งานได้จริง และพร้อมขยายผลสู่สังคมด้วยฟีเจอร์เด่นครับ เช่น การประมวลผลเอกสารยาว 1.4 ล้านคำ การอ่านไฟล์ PDF/ภาพ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกแบบ Real-Time

6 ม.ค. 2568 เริ่มใช้งานจริงกับคณาจารย์และบุคลากร ก่อนขยายสู่นิสิตใน มี.ค. 2568 ชูจุดแข็งด้านความปลอดภัย ข้อมูลไม่รั่วไหลครับ พร้อมเลือกใช้โมเดล AI ได้ตามความต้องการ เช่น Gemini 1.5 Pro สำหรับงานวิจัยลึก และ Gemini 1.5 Flash สำหรับงานรวดเร็วครับ

3 มีนาคม 2568 เปิดให้ใช้งานกับนิสิตนักศึกษาและบุคลากรจุฬาฯ ทั้งหมดแล้วครับ

ทำไมต้อง ChulaGENIE?

– ปรับแต่งได้: สร้าง “ตัวช่วยเฉพาะทาง” ทั้งด้านวิจัย (เช่น วิเคราะห์การกักเก็บคาร์บอน) การเรียน (แนะนำหลักสูตรส่วนบุคคล) และธุรการ (ตอบคำถามการลงทะเบียน), นิสิต ช่วยวางแผนเส้นทางอาชีพตามความสนใจ

– อัปเดตต่อเนื่อง: เตรียมเพิ่มโมเดลภาษาไทยโอเพนซอร์ส เพื่อการศึกษาแบบส่วนตัวและแม่นยำ

– การอบรมที่ทุกคนเข้าถึงได้: จุฬาฯ ได้จัดอบรมคอร์ส Google AI Essentials ซึ่งตอนนี้มีผู้สำเร็จหลักสูตรแล้วกว่า 800 คน

ChulaGENIE ใช้ได้ 2 โหมด

  1. GENIE – เร็วกว่า เหมาะกับงานทั่วไป
  2. GENIE Plus – ใช้งานเชิงลึก

ความสามารถของ ChulaGENIE

  1. รองรับหลายภาษา (Multilingual)

สามารถอธิบายหัวข้อซับซ้อนให้เข้าใจง่ายในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น ๆ

  1. รองรับข้อมูลหลายประเภท (Multimodal)

อัปโหลดเอกสารยาว (เช่น เอกสาร 1.4 ล้านคำ) พร้อมตาราง แผนภูมิ และภาพประกอบ

ประมวลผลไฟล์ PDF, Word และเนื้อหาภาพ เพื่อดึงข้อมูลหรือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก

ใช้ Code Execution และ Web Search ได้ครับ

  1. ขอบเขตการประมวลผลช่วงบริบทยาว (Long Context Window)
    ระบบการจัดการโควต้าการใช้งานได้เอง

ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว

จุฬาฯ ให้ความสำคัญสูงสุดกับการใช้งาน AI ที่มีความรับผิดชอบ โดย:

  • ใช้ระบบกรองเนื้อหาของ Vertex AI และนโยบาย AI ของจุฬาฯ เพื่อป้องกันการสร้างเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม
  • ใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูลและการควบคุมการเข้าถึงระดับองค์กรของ Google Cloud เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน
ขั้นตอนการใช้งาน ChulaGENIE ในหน้า Homepage

เสียงจากผู้บริหาร  

  1. ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า “ChulaGENIE ไม่ใช่แค่เครื่องมือ แต่คือก้าวสำคัญสู่การเป็นมหาวิทยาลัย AI ชั้นนำ ที่ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยีได้เท่าเทียม”  
  2. อรรณพ ศิริติกุล ผู้อำนวยการ Google Cloud ไทย พูดว่า “แพลตฟอร์มนี้พิสูจน์แล้วว่า AI ที่มีความรับผิดชอบสร้างประโยชน์ระยะยาวได้จริง”  
  3. รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “ปัจจุบันนอกจากการสอนหนังสือ ยังทำงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ หลายครั้งต้องรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปให้ง่ายต่อการเข้าใจ ChulaGENIE ช่วยผมรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับบุคลากร นิสิต คณาจารย์ และนักวิจัยในการเข้าถึงฐานข้อมูลหลากหลาย พร้อมการวิเคราะห์ที่แม่นยำและสรุปผลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย”
  4. ผศ.ดร.พิตติพล คันธวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ บอกว่า
    “ChulaGENIE เป็นเครื่องมือที่ช่วยอาจารย์เตรียมเนื้อหาการเรียนการสอน เช่น สไลด์ บทเรียน รวมถึงช่วยลดภาระงานเอกสาร เช่น การจัดทำรายงานและสรุปข้อมูล ทำให้อาจารย์สามารถโฟกัสกับการพัฒนาการเรียนการสอนและการพัฒนานิสิตได้อย่างเต็มที่”

ที่ผ่านมาทางจุฬาฯ ฝึกทักษะ AI ฟรีผ่านคอร์ส Google AI Essentials ให้บุคลากรและนิสิตกว่า 800 คนแล้ว  

อนาคตของ ChulaGENIE  

เตรียมพัฒนาโมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่ ช่วยออกแบบหลักสูตรและวิเคราะห์งานวิจัยแบบเรียลไทม์  

ข้อสรุป:

ChulaGENIE เป็นเว็บ AI เพื่อการศึกษาที่ ลงมือทำได้จริง ไม่ใช่แค่เทรนด์ เป็นประตูสู่โลกของการทำงานและการเรียนรู้แบบใหม่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

ผู้สนใจสามารถทดลองเข้าใช้งานได้แล้ววันนี้ที่ 

https://genie.chula.ac.th

Source:

Chula, ChulaGENIE, มิติใหม่ของ GenAI จุฬาฯ, นิสิตนศ. เล่น ChulaGENIE ได้แล้ว