สรุป Session: เสวนา From Hype to Habit: The Real Value of Generative AI at Work จากงาน Microsoft SMEs AI Skill Summit 2025 โดย
1. คุณพิมพ์สิรี รัตนสุนทร, Sr. Partner Solution Sales Manager, Microsoft Thailand
2. คุณวราภรณ์ มนัสรังษี รองประธาน บริษัท เค-เฟรซ จำกัด
3. คุณอรรณพ ดำรงพาณิชกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด
4. คุณธีรานนท์ ศิริกุลพิริยะ ผู้ก่อตั้ง Insightist และกรรมการผู้จัดการ Solutions Impact
คุณพิมพ์สิรี เตรียมคำถาม 4 ข้อ
คำถามที่ 1
รู้แล้ว AI คืออะไร รู้แล้ว และฉันต้องใช้ คำถามคือ แล้วจะเริ่มยังไง มุมมองของการนำ AI ไปใช้ในองค์กร การนำ AI ไปใช้ ยากไหมคะ
คุณอรรณพ บอกว่า เริ่มต้นใช้ AI ต้องเริ่มจากการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ที่ดีก่อน เพราะเป็นปัญหาหลักขององค์กรไทยที่ มักไม่จดบันทึกหรือเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ Transformation
แต่บริษัท ทริสนี้ ได้รับรองมาตรฐาน ISO 30401 ด้าน Knowledge Management ตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว
แก้ปัญหาด้วยการมีฐานความรู้ที่แข็งแกร่งสำหรับประยุกต์ใช้ AI และเมื่อเห็นศักยภาพของ AI 3 ปีที่ผ่านมา บริษัท ทริส จึงสามารถนำ AI มาปรับใช้เพื่อช่วยนักวิเคราะห์ทำงานได้จริง
ก่อนนำ AI มาประยุกต์ใช้กับ Generative AI ถ้าอยากเริ่มต้น ควรโฟกัสที่การจัดการข้อมูลและปรับกระบวรกาารทำงานเป็นอันดับแรกครับ
คุณวราภรณ์ บอกว่า เริ่มใช้ AI มา Generate เป็นภาพหนังสือนิทาน และใช้ Copilot พบว่า AI ตอบโจทย์เรื่องหลายเรื่องขององค์กรเราได้
เริ่มจาก
- ปัญหาการสื่อสารกับแรงงานต่างชาติผ่านการทำสื่อการสอนและคลิปอบรมให้ HR ทำงานง่ายขึ้น
- ให้ไอเดียในการจัดการผลกระทบมะพร้าวล้นตลาด
- ทีมช่างใช้ AI ช่วยแก้ปัญหาการปรับสภาพน้ำบาดาลที่ใช้ในการผลิต
- งานส่งออกก็ใช้ AI ช่วยตรวจสอบกฎระเบียบและข้อกำหนดของประเทศปลายทาง ลดเวลาและเพิ่มความแม่นยำในการทำงานได้ชัดเจน
- การสื่อสารกับพนักงานที่ใช้ภาษาที่แตกต่างกันได้อย่างราบรื่น
คุณวราภรณ์บอกสรุปสั้น ๆ ว่า เริ่มต้นได้ทันทีด้วยปัญหาเล็ก ๆ แล้วค่อยต่อยอดใช้งานทั่วทั้งองค์กร ทำให้ AI กลายเป็นส่วนหนึ่งของงานภาคเกษตร
คำถามที่ 2
คุณพิมพ์สีรีถามคุณเจมส์ว่า ตอนนี้เทรนนิ่งของการที่องค์กรส่งบุคลากรเข้าไปเรียนในเรื่องของ AI เป็นยังไงบ้าง มีเรื่องของ use case อะไรที่สามารถปรับใช้ได้เลยทันที มุมมองของสถาบันเนี่ย มันมีจุดไหนที่สามารถเทิร์นจากมุมของการทดลองให้เป็นการใช้จริงได้บ้าง
คุณเจมส์ตอบว่า องค์กรไทยเห็นแนวโน้ม AI Transformation อย่างรวดเร็ว โดยได้มีการจัดอบรมและเทรนนิ่งพนักงานกว่า 200,000 คนในปีที่ผ่านมา
การอบรมจะเน้นที่การเปิดใจและลดความกลัวของพนักงานต่อ AI ว่า จะนำเรื่อง AI ไปใช้ในงานของเขา ใน Business อย่างไร เพื่อให้ทุกคนเข้าใจว่า AI คือ เครื่องมือช่วยเสริมประสิทธิภาพ
จึงมีหลักสูตร AI ที่เชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศและนำเสนอ use case ที่ใช้งานได้จริงในทุกแผนก
การนำ AI มาใช้ครอบคลุมงานในด้านการตลาด ฝ่ายขาย HR การเงินและการปฏิบัติงาน ทำให้ทุกแผนกได้รับประโยชน์
การเปลี่ยนผ่านจากการทดลองสู่การใช้งานจริงต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลง Mindset ของพนักงานอย่างเป็นระบบ ด้วยแผนภาพ Insight มี 8 Levels
เมื่อทุกคนเข้าใจและใช้ AI เป็นผู้ช่วยในงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ จุดที่เปลี่ยนจากการทดลองให้เป็นการใช้งานจริงได้อย่างยั่งยืน ไม่ว่าคุณจะอยู่ตำแหน่งไหนก็ตาม
คำถามที่ 3
คุณพิมพ์อยากให้คุณอรรณพเล่า Case และวันนี้เราเอาเรื่องไม่ว่าจะเป็น Copilot หรือ AI เข้าไป Adapt ในองค์กรที่ต้องการความแม่นยำหรือวิเคราะห์ชั้นสูงเนี่ยอย่างไร
คุณอรรณพบอกว่า การเริ่มใช้ AI ในองค์กรที่ต้องการความแม่นยำและการวิเคราะห์ขั้นสูงเริ่มจาก
- การประเมิน Gap และความเสี่ยงก่อนนำไปใช้จริง
- ปรับ Alignment กับกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อระบุกระบวนการที่ AI จะเข้ามาเสริมสร้างมูลค่าให้สินค้าและบริการ
- การสร้าง infrastructure ที่มั่นคงและคำนึงถึงความปลอดภัยและกฎหมายเป็นสิ่งจำเป็นในการรองรับการใช้งาน AI ด้วย AI Empowerment
- ควรสร้าง AI culture ภายในองค์กรเพื่อให้พนักงานมีความรู้และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
การนำ Copilot และ CustomGPT มาปรับใช้ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและตอบโจทย์ในงานเฉพาะทางได้
คุณอรรณพ เล่าตัวอย่างในกระบวนการวิเคราะห์เครดิต (Credit rating process) คือ การเอาข้อมูลลูกค้ามาแยกเป็นข้อมูล public กับ private ใช้เทคโนโลยี RAG มาปรับแต่งใน CustomGPT และ Microsoft 365 Copilot ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของแต่ละโดเมนหลาย ๆ ตัวที่ใช้ในองค์กร ช่วยลดเวลาในการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร
คุณอรรณพ บอกเพิ่มเติมว่า เราต้องทำยังไงเพื่อใช้ AI อย่างเต็มที่
- สร้าง Responsible AI ก่อน ด้วยคนและ วิธีการ
- การสร้างและเข้าใจ infrastructure และ architecture ของระบบ
- องค์กรต้องลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะ Data Scientist และ Domain Expert ที่ช่วยวิเคราะห์และปรับจูนระบบให้สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะทาง
- ควรใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการ QA/QC ตรวจสอบความถูกต้องและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยแบ่งแยกข้อมูล public กับ private
- เรียนรู้และทดลองใช้งาน AI ผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เช่น Copilot และ ChatGPT เพื่อสร้างความเข้าใจในวิธีการทำงานจริงและประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สุดท้ายปรับจูนระบบด้วยการใช้ RAG ซึ่งเป็นการควบคุมการพัฒนาระบบให้ตรงกับ specific domain
คำถามที่ 4 คำถามสุดท้าย
คุณวราภรณ์ ช่วยแชร์หรือว่าฝากถึง SMEs ทุกท่าน ที่กำลังจะเริ่มใช้ AI หรือใช้ไปแล้วนะคะ มีอะไรที่เป็น Tips and Trick หรือว่าข้อควรระวังต่าง ๆ
คุณวราภรณ์บอกว่า สำหรับ SMEs ความกังวลเมื่อเริ่มใช้ AI เป็นเรื่องธรรมดา เนื่องจากเทคโนโลยีนี้ไกลตัวถ้าไม่ได้มาจากองค์กรด้าน IT
ข้อแนะนำ
- ก้าวข้ามความกลัวด้วยการทดลองใช้งาน เช่น ลองพูดคุยกับ ChatGPT เพื่อสำรวจศักยภาพที่แท้จริง
- การตั้งคำถามที่ชัดเจนและละเอียดจะช่วยให้ AI วิเคราะห์และตอบสนองได้ตรงกับความต้องการมากขึ้น
- ในช่วงเริ่มต้นอาจต้องใช้เวลา 2-3 วันในการปรับตัวและค้นหาวิธีการสื่อสารกับ AI ที่มีประสิทธิภาพ
Copilot สามารถเป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขปัญหาทั้งในด้านกฎหมายและด้าน HR ได้
ในที่สุด เมื่อเรียนรู้และปรับใช้อย่างถูกวิธี AI จะกลายเป็นคู่หูและเพื่อนคู่คิดที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับ SMEs
ข้อสรุป:
Microsoft เชื่อว่า การเสริมสร้างทักษะการใช้งาน AI ให้กับทุกคนจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และปลดล็อกให้ธุรกิจเข้าถึงโอกาสที่ยังมีอยู่อีกมากมาย
Source:
ทีมงานไปงานเอง, Youtube, Marketing Oops