สรุป Session: เสวนา AI Trends in SMEs จากงาน Microsoft SMEs AI Skill Summit 2025 โดย
1. คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์, Managing Director, Microsoft Thailand
2. ศ.ดร. วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์ รองประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย
3. คุณประพันธ์ เจริญประวัติ ตลาดหลักทรัพย์ LiveX
4. คุณอุบลรัตน์ ค่าแพง ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนากลางและย่อมแห่งประเทศไทย
5. คุณวรพจน์ ประสานพานิช สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
6. คุณอัครพล สุขตา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
คำถามที่ คุณธนวัฒน์ เตรียมมา มี 2 ข้อหลัก
คำถามที่ 1
เล่าภาพรวมถึงบทบาทแต่ละหน่วยงานของ SMEs และอะไรที่ท่านคิดว่าเป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุด ที่ SMEs เผชิญอยู่ ณ ตอนนี้?
ศ.ดร. วิเชียร บอกว่า เป็นตัวกลางในการเชื่อมภาครัฐฯ, เอกชนและประชาคมทั่วไป มองถึงหลาย ๆ ด้าน Accessbility เข้าถึงข้อมูลทุกระดับที่ง่าย เช่น คนพิการ เป็นต้น
ศ.ดร.วิเชียร ทำหน้าที่ประมาณนี้
1. การให้ความรู้และอบรม เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI แก่ผู้ประกอบการ
2. การสร้างแพลตฟอร์มเชื่อมโยงธุรกิจ เพื่อเสริมศักยภาพการทำงานร่วมกัน
3. การเชื่อมโยงแหล่งทุน ช่วย SME เข้าถึงเงินทุนสำหรับ Digital Transformation
คุณธนวัฒน์ พูดสรุปและเสริมต่อว่า เมื่อผมมองไปที่ประเทศอย่างสิงคโปร์ประกาศเรื่อง AI Strategy พร้อมลงทุนกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และล่าสุดเมื่อเดือนที่แล้ว ก็ประกาศเพิ่มอีก 150 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
คุณประพันธ์ตอบคำถามเดียวกันว่า ความท้าทายหลักของ SMEs มี 3 หัวข้อ
1. การอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน
2. การปรับตัวสู่ Digital Transformation
3. AI Adoption, และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
โดยมีบทบาทเป็น แหล่งระดมทุนผ่านแพลตฟอร์ม เช่น SET, MAI, และ LIVE Exchange ที่สนับสนุน SME และ Startup พร้อมผลักดันการเรียนรู้และการใช้งาน AI เพื่อเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ และเป็นโอกาสด้วย ขึ้นอยู่กับมุมมองและ MindSet ว่า มองเห็นปัญหาหรือเปล่า
คุณอุบลรัตน์ มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน SMEs ผ่านการให้เงินทุนและพัฒนาศักยภาพ โดยเน้นการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สสว., DEPA, และ LiVE Exchange พร้อมสร้างแพลตฟอร์ม DX Platform เพื่อเสริมความรู้และลดต้นทุน นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพียง 3% คงที่นาน 3 ปี วงเงินสูงสุด 50 ล้านบาทต่อธุรกิจในโครงการ Green Productivity
คุณอัครพล บอกว่า บทบาท ทำหน้าที่ดูแลและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมไทย โดยแบ่งเป็น 47 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ และ 11 สถาบันเฉพาะทาง เช่น ICTI ด้านเทคโนโลยี ครอบคลุมทั้ง 6 ภาค 18 กลุ่มจังหวัด และ 76 จังหวัดทำงานร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในเชิงนโยบายและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ด้วยการไปตีตลาดข้างนอก เพื่อช่วยไปโตข้างนอกด้วยนะ
คุณธนวัฒน์บอกเสริมว่า ผมไปงาน APEC ที่เปรู ต้องบอกว่าตลาดที่นั่นน่าสนใจมาก รู้สึกว่ามองไปปั๊บ สามารถเอาผู้ประกอบการรายใหญ่แล้วลากลูกเล็กของเราเนี่ยไปได้เลย มันมีอีกหลายประเทศที่คิดว่า มีวิธีคล้ายคลึงแบบนี้ ผมเชื่อว่านั่นแค่ประเทศเดียว
คุณธนวัฒน์ถามคุณวรพจน์ต่อว่า จากที่ สสว. ได้ทำงานใกล้ชิดกับ SME เนี่ยนะครับ มองว่า AI จะเข้ามาช่วยปลดล็อคโอกาสใหม่ ๆ และเสริมศักยภาพในการแข่งขันได้อย่างไรครับ
คุณวรพจน์บอกว่า สสว. ให้ความสำคัญกับ Digital Transformation และการนำ AI มาใช้ในกลุ่ม SME โดยพบว่าโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการปรับตัวสู่ดิจิทัลถึง 80-90%
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน SME ยังเผชิญ 2 ปัญหาหลัก: ขาดความรู้ ในการเริ่มต้นใช้งาน AI และ ความไม่กล้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายและความไม่มั่นใจในผลตอบแทน สสว. จึงพยายามสนับสนุนผ่านการสร้างความเข้าใจและลดอุปสรรคทางการเงินเพื่อให้เกิดการนำ AI มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำถามที่ 2
ปัจจุบันประเทศไทยเราอยู่จุดไหนบนเส้นทางของเรื่องของ AI Adoption นะครับ แล้วก็คิดว่าอะไรคือตัวเร่งที่ทำให้ธุรกิจวิ่งได้เร็วนะครับ และอะไรคือปัจจัยที่รั้งเราไว้ครับ
ศ.ดร.วิเชียร บอกว่า ประเทศไทยอยู่ใน จุดเริ่มต้น ของ AI Adoption โดยส่วนใหญ่เป็น Micro SME ที่ยังขาดความรู้และเงินทุน ส่วนบริษัทระดับกลางเริ่มใช้ระบบเช่น ERP แต่ยังจำกัด ขณะที่การใช้ข้อมูล (Data) เพื่อสร้างมูลค่ายังเป็นจุดอ่อน ตัวเร่ง สำคัญคือโควิด-19 และแรงจูงใจ (Incentive) เช่นพร้อมเพย์ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการความรวดเร็วในยุคดิจิทัล
คุณธนวัฒน์ถามคุณอัครพลนะครับ ขอเจาะลึกในส่วนของภาคการผลิตกันบ้างนะครับ
คุณอัครพลคิดว่าในภาคการผลิตมีความท้าทายอะไรในการที่นำเอา AI ไปใช้งานจริงครับ
คุณอัครพลบอกว่า ความท้าทายในการนำ AI ไปใช้ในภาคการผลิตคือ กำแพงทาง generation ในธุรกิจครอบครัว (Family Business) ที่ผู้บริหารรุ่นเก่าไม่พร้อมปรับตัวหรือปล่อยให้รุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI ส่งผลให้หลายโรงงานยังคงใช้เครื่องจักรแบบเดิมโดยไม่พัฒนา
ขณะนี้มีเพียง 10% ของโรงงานที่เริ่มนำ AI มาใช้ สภาอุตสาหกรรมพยายามสนับสนุนผ่านการให้ทดลองใช้ ERP ฟรีและทำงานร่วมกับธนาคาร/ภาครัฐเพื่อสร้างการยอมรับและความเข้าใจใน AI
คุณธนวัฒน์ ถามกับ อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ทั้งคุณอุบลรัตน์และคุณประพันธ์ว่า ปัจจุบันที่ทำ SME Bank และตลาดหลักทรัพย์ มีโครงการอะไรที่ช่วยสนับสนุนให้ SME นำ AI มาใช้ในธุรกิจบ้างครับ
คุณอุบลรัตน์บอกว่า SME Bank มีแพลตฟอร์ม DX Platform ที่ร่วมกับพันธมิตรหลายหน่วยงาน เพื่อสนับสนุน SME ในการนำ AI และ Digital Transformation มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้วกว่า 20,000-25,000 ราย และในปีนี้ได้ร่วมกับ Microsoft พัฒนา 9 หลักสูตรสำหรับ SME โดยเฉพาะ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการเงินและการใช้ AI
คุณประพันธ์บอกว่า ตลาดหลักทรัพย์สนับสนุน SME ในการนำ AI มาใช้ผ่านแพลตฟอร์ม LiVE Platform ซึ่งมีโปรแกรม LiVE SP Park ให้เรียนรู้เรื่อง Digital Transformation และ AI ฟรี
โดยผู้ที่จบหลักสูตรสามารถเบิกเงิน 25,000 บาทเพื่อพัฒนาทักษะ AI ได้ นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ยังเน้นการรวมเงินทุนจากหลายหน่วยงานเพื่อเร่งการนำ AI มาใช้ในกลุ่ม SME อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณอัครพลบอกว่า ความท้าทายในการนำ AI ไปใช้ในภาคการผลิต คือ การเลือกเครื่องมือ AI ให้เหมาะสม กับแต่ละส่วนงาน เช่น การบริหาร, การผลิต, การจัดการสต๊อก, และ QC
รวมถึงข้อจำกัดด้านงบประมาณ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งจำเป็นต้องมีนโยบายสนับสนุน เช่น การร่วมลงทุน 50:50 เพื่อช่วยลดภาระและสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจ
คุณธนวัฒน์บอกกับคุณอุบลรัตน์ ให้ช่วยปิดท้ายข้อสรุปด้วย
ปิดท้าย:
ถ้าใครพบ AI ที่เหมาะกับธุรกิจกับ Business ของตนเองก็เรียนเชิญปรึกษาแนะนำที่ SEED Bank เพราะว่ารัฐบาลก็ได้พยายามที่จะช่วยผ่านกลไกของแบงค์รัฐใน เรื่อง การลงทุนด้านเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมก็เข้าไปที่เว็บไซต์หรือ Facebook SM Bank ค่ะ ขอบคุณ
Source:
ทีมงานไปงานเอง, Youtube, Marketing Oops