สรุปจาก Session: From Hype to Reality: AI’s Readiness for Business Use จากงาน Martech Expo 2025 Strategy Stage โดย
- คุณโชค วิศวโยธิน CEO The Magic Wand AI และเป็นแอดมินของเพจ AI เพื่อธุรกิจและสังคม
- นายแพทย์ปิยะฤทธิ์ อิทธิชัยวงศ์ จาก Cariva Thailand และเป็นอาจารย์ที่โรงพยาบาลศิริราช
- Moderator เภสัชหญิงวีรยา ถาวรวัฒนยงค์
คำถามที่ ภญ วีรยา ถามมีประมาณ 6 ข้อ
คำถามที่ 1 AI ตอนนี้เนี่ย ก่อนหน้านี้พูดถึงเป็นกระแสมาก ๆ Hype มาก ๆ เลยว่า มันทำได้หลายอย่างมาก ๆ จะมาแทนคนทุกในมิติเลย หรือ เปล่า เอามาใช้ในธุรกิจได้จริงมั้ย พี่หมออ๋ากับพี่โชค มีความเห็นยังไงเรื่องนี้บ้าง
หมออ๋า บอกว่า ตั้งแต่ ChatGPT ออกมา 2 ปีที่แล้ว หลายคนใช้ รู้สึกว่า ทำไมมันโง่อย่างนี้ ให้บวกเลข ก็ยังไม่ถูกเลย ครับ แล้ว มีอาการหลอนเกิน เช่น บอกให้หาเรื่อง งานวิจัยให้หน่อยหรือ ขออ้างอิงทางการตลาดเขียนมาเป็นสเปค แต่พอไปดูอ้างอิง มันมั่วนี่
แต่ปัจจุบันมันมีโมเดลที่มีคำว่า Thinking หรือ O1, O3 ของ OpenAI พวกนี้ฉลาดมากถามว่า ฉลาดขนาดไหน คือ เหรียญทองคอมพิวเตอร์โอลิมปิก หรือเหรียญทองเลขโอลิมปิกแล้ว ก็เก่งวิทยาศาสตร์มาก ๆ ครับ
คุณโชค บอกว่า ไม่มีใคร Identify ได้ มากเท่ากับคนที่รันตัวธุรกิจ AI มันมีพัฒนาการบ่อยมาก เป็นรายชั่วโมง แค่เมื่อเช้านี้ก็อัดมา 5-6 อัปเดต ใหญ่ ๆ แต่จุดสำคัญ คือ บรรดาการอัปเดตทั้งหมดมันเอามาใช้เป็น Use Case ให้กับธุรกิจของคุณได้หรือเปล่า นั่นคือ สิ่งที่คุณต้องวัด
.เพราะถ้าเกิดคุณไปฟังธุรกิจอื่น ๆ เขาจะบอกว่า บางอันยังใช้ไม่ได้ แต่มันอาจจะเพียงพอกับธุรกิจของคุณ เพราะฉะนั้นจุดชี้วัด คือ ต้องรอ ต้องลองครับ
ภญ.วีรยาถามเพิ่มเติมกับคุณโชคว่า ถ้าเราเอาพวก GenAI หรือ AI ต่าง ๆ มาใช้ในแง่แบบ Personal เอง กับ Business Use จริง มันแตกต่างกันเยอะไหม
คุณโชค บอกว่า ต่างกันมาก โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยและความเสี่ยงข้อมูล เช่น ChatGPT แบบส่วนตัว (Plus = 20 ดอลลาร์) อาจนำข้อมูลไปเทรนต่อจนรั่วไหล ขณะที่แบบธุรกิจ (Team = 30 ดอลลาร์) รับประกันไม่ใช้ข้อมูลเทรน นอกจากนี้ การใช้ AI ในองค์กรต้องพิจารณาการจัดเก็บข้อมูล (เช่น On-premise) เพื่อลดความเสี่ยง
จุดที่สำคัญในองค์กรต้องพิจารณาการจัดเก็บข้อมูล 3 อย่าง
1. Confidentiality privacy รักษาข้อมูลส่วนตัว
2. Security ความปลอดภัยต่อข้อมูล
3. Scalability ความสามารถในการขยายขนาด เป็นตัวที่สำคัญมาก
Scalability ที่รองรับผู้ใช้จำนวนมาก พร้อมตรวจสอบให้ AI ตอบโจทย์ธุรกิจจริง ไม่ใช่แค่ความฉลาดพื้นฐาน
หมออ๋าบอกว่า วันนี้มี Gemini 2.5 Pro ออกครับ ซึ่งเราน่าจะสามารถใช้ได้ ราคา 20 US ดอลลาร์ เก่งกว่า O1 Pro 200 US ดอลลาร์ ครับ ดังนั้นผมมองว่า ปัจจุบัน ถ้าใครกำลังคิดว่า จะจ่าย 200 US ดอลลาร์ อาจจะไม่ค่อย เหมาะสม ณ ตอนนี้นะครับ
คำถามที่ 2 เมื่อกี้มีพูดถึงกินดีแล้ว อยากให้พี่หมออ๋า ลองยก Case กินดี ให้หน่อยได้มั้ยคะ หลาย ๆ คน น่าจะเป็น User อยู่แล้วด้วย น่าจะได้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น
หมออ๋าบอกว่า ตอนนี้ AI ใกล้เคียงผู้เชี่ยวชาญระดับ PhD แล้ว ในหลายสาขา เช่น O1 ทำข้อสอบได้ถึง 83.5% และราคาการใช้งานลดลงอย่างมาก
ตัวอย่างเช่น O3 Mini หรือ Claude 3.7 Sonnet ที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันแต่ค่าใช้จ่ายลดลง 5-15 เท่า ทำให้สามารถนำไปใช้งานจริงในธุรกิจได้ โดยเฉพาะงานที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น การแพทย์ แต่ต้องระวังเรื่องค่าใช้จ่ายเมื่อมีผู้ใช้งานจำนวนมาก เช่น กรณีแอป “กินดี” ที่เคยมีค่าใช้จ่ายสูงถึงหลักแสนต่อวัน ก่อนปรับลดต้นทุนสำเร็จ ด้วยการทำ Marketfeed
คำถามที่ 3 มีกระแสสังคมเยอะมากเลย เรียกได้ว่า AI มาแล้ว เราไม่ต้องมี Dev ก็ได้ No Code นะแบบใครก็สามารถที่จะสร้างโปรแกรมได้จริง ๆ หมออ๋ามีแตะ เรื่องนี้ เลยอยากจะขอความเห็นว่า สมัยนี้ไม่ต้องมี Dev ก็ได้ ใคร ๆ ก็สามารถทำได้
คุณโชคบอกว่า แบ่งเป็น Phasing โดยเริ่มจากใช้ AI เพื่อสร้างไอเดียให้เป็นรูปธรรมในขั้น Proof of Concept (POC) เช่น การทดลอง UI หรือ Prototype ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและค้นพบสิ่งที่ต้องการได้เร็วขึ้น
หากต้องการใช้งานจริง จำเป็นต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของ AI (Trustworthy AI) และความสามารถในการตรวจสอบคำตอบผ่าน Domain Knowledge เมื่อผ่านขั้นนี้แล้ว การพัฒนาเพื่อรองรับ Scalability และ Security ควรปล่อยให้ทีม Dev ดำเนินการต่อเพื่อความเหมาะสมทางธุรกิจ
หมออ๋าบอกเสริมต่อจากคุณโชค ถึงกรณีศึกษา “กินดี” ใช้ AI ในการพัฒนาสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ประมาณ 75% ใช้รุ่น O1 Pro ช่วยสร้างต้นแบบและสื่อสารความต้องการระหว่างทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะเคยประสบปัญหาเซิร์ฟเวอร์ล่มจากการแชร์ภาพจำนวนมาก
แต่นักพัฒนาสามารถปรับปรุงระบบให้รองรับได้ ทั้งนี้นักพัฒนายังคงมีความจำเป็นในการปรับแต่งและขยายขนาดโปรเจ็กต์ต่อไป
คำถามที่ 4 ช่วงแรกที่เราลองหา Concept อะไรกันก่อน มันยังไม่ต้องมี Dev อะไร ก็ได้ แต่หลังจากนั้นเนี่ย ก็คงต้องมี เพราะว่า ช่วยลดค่าใช้จ่าย ช่วยปรับอะไรต่าง ๆ แล้ว ก็อีกคำถาม Hot Hit นึง ก่อนหน้านี้เป็นกระแสมาก เหมือนกัน คือ Deepseek ช่วยอธิบาย
หมออ๋า บอกว่า Deepseek คือ OpenAI ของจริง เพราะเขาแจก Listening Model ที่เก่งมาก ๆ ปล่อยมาเมื่อเดือนก่อน ออกมาให้ทุกคนได้ใช้กัน
เขาเชื่อว่าปัจจุบันจีนอาจนำหน้าสหรัฐในด้าน AI มากกว่าที่คาด โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยชั้นนำของจีนที่มีผลงานวิจัยระดับโลก และมีความสามารถในการพัฒนา AI ที่น่าสนใจ การมี Open Source AI จะช่วยให้องค์กรสามารถนำมาใช้งานภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำถามที่ 5 หลาย ๆ คน น่าจะอยากลองเริ่มใช้ AI กันและใครที่ยังไม่เริ่มก็อยากจะเริ่มแล้ว ถ้าสมมุติในองค์กร ตอนนี้อยากจะเริ่มใช้ AI เอง พี่โชค พอมีคำแนะนำอะไรมั้ยคะ ได้ยินว่า ติด Canvas มา ด้วย มี Framework แถมแจกให้แบบถ่ายรูป ไป ส่งให้ทีมไป เริ่มใช้กันได้เลย

คุณโชคกล่าวรวม ๆ ว่า AI Transformation เป็นกระบวนการ Transform องค์กรผ่านการนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจ โดยเป้าหมายหลักคือการ “Transform ธุรกิจ” เพื่อสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คำถามที่ 6 คำถามสุดท้าย ภญ วีรยาถามหมออ๋าว่า นอกเหนือจากใน Framework หมออ๋า มีตรงไหน อยากจะเสริมเพิ่มมั้ยคะ
หมออ๋า บอกแบบรวม ๆ ว่า ทุกคนกังวลเรื่อง AI เข้ามาอาจทำให้พนักงานถูกปลด แต่หมออ๋าย้ำว่า AI จะช่วยลดภาระงานและเพิ่มเวลาสำหรับนวัตกรรมใหม่ ๆ
เช่นเดียวกับโรงพยาบาลศิรีราชที่สามารถสร้างไอเดียใหม่ เมื่อใช้ AI ช่วยลดเวลาในงานประจำ และหากบริษัทเลือกใช้ AI อย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ New S-Curve หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นโอกาสทางธุรกิจได้
ข้อสรุป:
สุดท้ายนี้ AI Transformation Initiation Canvas โดยเน้นการเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายธุรกิจ (Vision) ศักยภาพการใช้ AI (Capabilities) และวิธีทำงานร่วมกัน (Collaboration) ช่วยให้องค์กรกำหนดแนวทางการนำ AI มาใช้งานได้อย่างเป็นระบบและครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
Source:
สดจากงาน Martech Expo 2025