ดร.วิโรจน์ จิรพัฒนากุล กรรมการและผู้ร่วมก่อตั้ง Skooldio, สอนวิชาปฏิบัติการศาสตร์ข้อมูล คณะพาณิชย์ บัญชี จุฬาฯ
เริ่มแรก เขากล่าวถึง การสอนวิชาปฎิบัติศาสตร์ข้อมูล เนื้อหาที่สอน จะเน้นสอนเกี่ยวกับ Data Science จะเป็นวิชาที่เชื่อมโยงกับการใช้ ChatGPT ทำโจทย์, ออกข้อสอบ สอนเสร็จ เด็กออกไป ต้องทำงานแล้วได้ Data
จากนั้นกลับมาเข้าเนื้อหานี้ ดร.วิโรจน์ พูดเนื้อหาหลัก 2 หัวข้อ:
เนื้อหาหลัก 2 หัวข้อ
1. เมื่อนักศึกษาใช้ ChatGPT ทำข้อสอบ
ดร.วิโรจน์กล่าวว่า เนื้อหาที่สอนและออกข้อสอบจะครอบคลุม ตั้งแต่การสร้าง Model, Evaluate Model
ดร.วิโรจน์ให้ความสำคัญกับการทำข้อสอบเป็นอย่างมาก กล่าวชัดเจนว่า เราจะไม่ใช้ตาราง Distribution หรือเครื่องคิดเลขในการทำข้อสอบ ใช้วิธีเปิดอินเตอร์เน็ตในการทำข้อสอบ
เพราะอยากให้เน้นทำงานได้ ทำข้อสอบให้เข้าใจ ไม่จำเป็นต้องจำได้ทุกอย่าง อยากเห็นนักศึกษาคิด วิเคราะห์, ใช้ ChatGPT ในการทำข้อสอบให้ได้
ซึ่งจากการทำข้อสอบของนักศึกษา สิ่งนึงที่ ดร.วิโรจน์กล่าวเริ่มต้น ก่อนใช้ AI คือ มียุคนึงในวงการ Tech กล่าวไว้ว่า ใคร Google เก่ง = ทำงานเก่ง
ดร.วิโรจน์ กล่าวว่า การที่เรา Google เก่ง ต้อง Expect ด้านการตั้งคำถามให้เก่ง เน้น 3 อย่าง

ตั้งคำถามให้เก่ง เน้น 3 อย่าง
– ตั้งคำถามให้ดี?
– สังเคราะห์ความรู้ได้?
– ประยุกต์ใช้ให้เป็น?
พอ ChatGPT เข้ามาฉลาดกว่า Google ไม่ได้หาอย่างเดียว ยังช่วยคิดแทนผู้ใช้ มีความเก่ง, สังเคราะห์, สรุป โดยผู้ใช้ต้องให้ข้อมูล ตัว ChatGPT ถึงจะเก่ง
ดร.วิโรจน์กล่าวว่า ตอนทำข้อสอบกัน ช่วยส่ง ChatGPT History (ChatLog) ว่า คุยอะไรบ้าง ใช้แล้วช่วยเด็กให้ฉลาดขึ้นไหม เพื่อให้อาจารย์เข้าใจสิ่งที่เด็กทำ ไว้สำหรับออกข้อสอบในคลาส หรือบทเรียน หรือสอบครั้งถัดไป
ดร.วิโรจน์แนะว่า นักศึกษาที่เก่งจะฉลาดในการเขียน Prompt มีความเฉลียวชัดเจน มีภูมิต้านทานอาการหลอน และมีเส้นแบ่งระหว่างนักศึกษาที่เขียนคล่องกับไม่คล่อง จะเริ่มเบลอมากขึ้น

การใช้งาน ChatGPT ของคนส่วนใหญ่
1. หากผู้ใช้ถามไม่ชัด คำตอบ AI จะไม่ชัดเจน
2. บริบทยิ่งเยอะ ยิ่งตอบคำถามได้ดี
3. คัดลอกคำถามมา คำตอบที่ได้มาไม่ได้ถูก หากไม่ได้วิเคราะห์ หรือดูอย่างถี่ถ้วน
4. ระวังอาการหลอน เช่น บางประโยค คำตอบผิด
5. ตารางการแสดงผลเป็นตัวเลข มันจะสมมติขึ้นมา
เด็กฉลาดมีวิธีใช้งาน
1. เอาผลลัพธ์จากการวิเคราะห์มาตั้งคำถามต่อ
2. โยนหินถามทางไปทีละขั้นตอน (Iterative Development)
3. ตั้งคำถามปลายเปิด
ดร.วิโรจน์แยกเด็กเก่งในคลาส วิชาการปฎิบัติศาสตร์ข้อมูลออก:
1. เด็กเก่ง วิเคราะห์ข้อมูล มองเห็นภาพ เห็นข้อมูลแบบ Specific แล้วทำนายดีขึ้น เข้าใจรายละเอียดสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
2. คนเขียนโค้ด code Interpreter
2. เมื่อ อาจารย์ใช้ ChatGPT ออกข้อสอบ
วิธีที่ดร.วิโรจน์ใช้ในการออกข้อสอบ
1. ระบุรายละเอียดในการออกข้อสอบให้ชัดเจน
– เนื้อหาที่ครอบคลุม
– วัตถุประสงค์กาเรียนรู้ที่ต้องทดสอบ ใช้ Bloom taxonomynมาช่วย เพื่อแสดงผลลัพธ์ของคำตอบ AI ให้ครอบคลุมกับเนื้อหาที่ผู้ใช้งานต้องการ
2. หากข้อแรกไม่ Work กระตุ้นการหาคำตอบ
3. ใช้ GPT ช่วยแต่ง Use Case
4. ช่วยคิดตัวอย่างสำหรับการทดสอบประยุกต์หรือคิดวิเคราะห์ (เด็กไม่ต้องท่องจำ ทำงานให้เป็น ตอบโจทย์ต่อโลกการทำงานและความเข้าใจของนักศึกษา)
5. คำเตือน เก่งภาษา ไม่ได้เท่ากับว่า จะเก่งเสมอไป
แม้ว่า ChatGPT จะมีการอัปเดตไปมาก จนถึงขั้นมี Reasoning, DeepResearch, AI Agent แต่ก็ต้องเฝ้าระวังคำตอบทุกครั้ง
6. คิดแบบ Step by Step จะช่วยให้ตีความได้ถูกต้อง
7. จะใช้เขียนโค้ดสำหรับกราฟหรือประกอบคำถามก็ได้
ข้อสรุป:
จะเห็นได้ว่าการใช้ AI อย่าง ChatGPT มีข้อดี แต่ก็ต้องคอยตรวจสอบคำตอบ และเข้าใจ ข้อควรระวังในการใช้งาน และนิสิตถามอย่างไรจึงจะได้คำตอบที่ชัดเจน ตรงประเด็นมากที่สุด