การทดลองทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ไม่ใช่แค่เทรนด์ เป็นโจทย์ใหญ่ของโลกธุรกิจยุค AI ที่กำลังทดสอบสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและมนุษยธรรม Kelly Daniel จาก Lazarus AI ชี้ว่า เทคโนโลยีนี้ไม่เพียงลดงานซ้ำซ้อน แต่เปิดโอกาสให้องค์กรออกแบบระบบงานใหม่ที่ฉลาดขึ้น เมื่อประสิทธิภาพไม่ได้ขึ้นกับจำนวนชั่วโมง แต่ขึ้นกับคุณภาพของการโฟกัสงาน
AI ไม่ใช่แค่เครื่องมือ แต่คือตัวเปลี่ยนเกม
จากการศึกษาของ MIT และ Goldman Sachs (2023) AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเฉลี่ย 14-25% ตัวอย่างจริงจากบริษัท TechNET IT Recruitment ในสหราชอาณาจักร พบว่า AI ช่วยประหยัดเวลาพนักงาน 21 ชั่วโมง/สัปดาห์ ลดเวลา กับงานซ้ำๆ เช่น การจัดตาราง การคัดกรองเรซูเม่ หรือสร้างรายงาน พวกการจัดหางานลง 10 วันต่อตำแหน่ง ส่งผลให้ทีมทำงาน 4 วันได้โดยไม่เสียประสิทธิภาพ
แต่ไม่ใช่ทุกงานจะเหมาะกับ AI Geoffrey Hamlyn (COO ของ Trepwise) เตือนว่า “งานที่ต้องใช้ทักษะสูงหรือสร้างสรรค์ ยังต้องพึ่งพามนุษย์”
ดังนั้น การประเมินบทบาทของ AI ในแต่ละแผนกจึงเป็นขั้นตอนแรกที่ผู้บริหารต้องลงมือทำ

ความเสี่ยงที่ต้องไม่ละเลย
- ความเหลื่อมล้ำ: แรงงานรายชั่วโมงอาจไม่ได้ประโยชน์จาก AI เท่าพนักงานบัญชีหรือผู้จัดการฝ่ายตลาด
- ความปลอดภัย: Harvard ชี้ว่า AI อาจถูกใช้แสวงหาผลประโยชน์หากขาดกฎหมายควบคุม จึงเสนอทางออกในการป้องกัน เช่น ตรวจสอบการใช้ AI ในที่ทำงาน และกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย
- การเปลี่ยนผ่านที่ไม่ราบรื่น: บริษัท Game Lounge พบว่าพนักงานบางส่วนยังไม่สามารถปรับตัวในช่วงแรก ๆ พอปรับตัวได้ ทุกอย่างดีขึ้น
กลยุทธ์ “ตัดสินใจแบบมีชั้นเชิง” สำหรับผู้นำ:
- ลดเวลา vs. รักษาผลผลิต: AI อาจทำให้งาน 25% ที่มนุษย์ทำอยู่ถูกแทนที่ (ข้อมูล Goldman Sachs) แต่ต้องออกแบบระบบให้พนักงานโฟกัสงานที่มีมูลค่าเพิ่มแทน
- เตรียมแผนรับมือ “การเปลี่ยนผ่านแรงงาน” จัดตั้งโปรแกรม Reskill/ Upskill เพื่อให่พนักงานมีทักษะรองรับการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ แม้ว่าข้อมูลของ Future of Jobs Report 2025 นั้นบอกว่า มีตำแหน่งงาน 92 ล้านตำแหน่งจะถูกแทนที่และ จะมีอาชีพใหม่อีก 170 ล้านตำแหน่งมาใหม่
- ควบคุมความเสี่ยง” ด้วยกรอบกฎหมาย: เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือใช้ในทางที่ผิด
- ความยั่งยืน: การศึกษาจาก Autonomy (2023) ชี้ว่า 28% ของแรงงานอังกฤษอาจทำงาน 32 ชั่วโมง/สัปดาห์ภายใน 2033 องค์กรต้องเตรียมโครงสร้างเงินเดือนและสวัสดิการให้สอดคล้อง
ทางออกสำหรับผู้บริหาร: ทำอย่างไรให้ “Win-Win”?
- ใช้ AI แทนคน กับงานที่ใช้เวลามาก แต่ไม่สร้างมูลค่า นำ AI มาใช้ในแผนกที่มีงาน Routine สูง เช่น HR, การเงิน, บริการลูกค้า
- ทำงานน้อย แต่ได้งานมาก เช่น บริษัท Driftime (London, UK) ใช้ AI อย่าง Modyfi ออกแบบสร้าง concept ได้เร็วขึ้น ส่งผลให้ทีมงานสร้างไอเดียเร็วและทำงานเสร็จไว Abb-d Taiyo (Co-Founder Driftime) เน้นว่า “แทนที่ผลงานจะลด เพราะทำงานน้อยลง คุณภาพงานกลับสูงขึ้น แถมพนักงานมีความสุขมากขึ้น ความสุขของทีมสัมพันธ์กับคุณภาพงานโดยตรง”
- สร้างวัฒนธรรม ไว้ใจและปรับตัว พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง มีแนวคิดที่พร้อมทดลองสิ่งใหม่ Na Fu จาก Trinity Business School ว่า พนักงานต้องพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่ใช้ประโยชน์จาก AI ได้ แทนที่จะเป็นแค่ผู้ดูแลระบบ
- วัดผลและปรับปรุงต่อเนื่อง: Geoffrey Hamlyn (COO) เตือนว่า “ไม่ใช่ทุกงานเหมาะกับ 4 วัน” เช่น งานบริการหรือกฎหมายที่คิดเงินแบบรายชั่วโมง ต้องทดลองก่อน ขยายผลทีหลัง (Pilot Project)
คนสุดท้ายที่จะตัดสิน คือ ผู้บริหาร
Jamie Dimon CEO JPMorgan Chase คาดการณ์ว่า “มนุษย์จะทำงาน 3.5 วันต่อสัปดาห์ในอนาคต” แต่การไปถึงจุดนั้นต้องการมากกว่าเทคโนโลยี ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ขององค์กร บางแห่งอาจใช้ AI ลดงานบางส่วน แต่เพิ่มงานอื่นให้พนักงานทำแทน องค์กรจึงต้องสร้างระบบที่เชื่อมโยงประสิทธิภาพกับความเป็นอยู่ที่ดีของคนทำงาน
ข้อสรุป:
การมาของ AI ไม่เพียงเปลี่ยนโฉมการทำงาน องค์กรที่ปรับตัวเร็วอย่าง TechNET และ Driftime ใช้ AI ลดงานซ้ำซ้อน 21 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และรักษาคุณภาพงานของงานดีขึ้น ในทางกลับกัน งานบริการหรือสายอาชีพที่ต้องใช้ทักษะสูงยังคงเผชิญข้อจำกัด ผู้บริหารจึงต้องวางกลยุทธ์ให้ชัดเจน และยอมรับการใช้ AI เป็นพันธมิตร เพื่อขยายศักยภาพมนุษย์ และสร้างวัฒนธรรมที่เชื่อมั่นว่า “เวลาที่น้อยลง จะเป็นผลลัพธ์ที่มากขึ้น”