ภาพประกอบ ค้อนแกเฟิล จาก Raphael.app

บริษัทหลาย ๆ แห่งเริ่มปรับตัวใช้ AI มากขึ้น รวมถึงระวังด้านลิขสิทธิ์เป็นอย่างมาก ก่อนหน้านี้มีหลายบริษัทที่โดนฟ้อง ตัวอย่างเช่น Perplexity ถูกฟ้องข้อหา นำเนื้อหาไปเทรนด์ข้อมูล โดยไม่ได้รับอนุญาต, Openai ถูกฟ้องจาก บริษัท Youtube เรื่องการเทรนด์ข้อมูลวีดิโอ Youtube เพื่อเอามาสร้างเป็น Model Gen Video โดยไม่ได้รับอนุญาตครับ

แต่ข่าวนี้ ถือเป็นกรณีศึกษาสำคัญที่อาจเปลี่ยนเกมการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์! ศาลตัดสินให้บริษัท Thomson Reuters ชนะคดีละเมิดลิขสิทธิ์จากคู่แข่งที่ใช้ข้อมูลของพวกเขาเพื่อฝึก AI โดยอ้าง “การใช้อย่างยุติธรรม” ไม่ครอบคลุมการคัดลอกข้อมูลทั้งชุด

ประวัติคดี

เริ่มจากปี 2020 บริษัท Thomson Reuters (สำนักข่าว) ยื่นฟ้อง บริษัท Ross Intelligence (วิจัยกฎหมายด้วย AI) ข้อหา คดีลิขสิทธิ์ AI เกี่ยวข้องกับ Non-Generative ด้วยการคัดลอกข้อมูล เนื้อหาจาก Westlaw (ของ Thomson Reuters) โดยไม่ได้รับอนุญาต ด้วยเครื่องมือของ Ross และนำไปใช้สร้างแพลตฟอร์ม AI สำหรับค้นคว้ากฎหมาย มีการใช้ข้อมูลดัชนีทางกฎหมาย ผสมกับการแทรกเนื้อหาของ Westlaw ลงไป ให้เป็นข้อมูลของตัวเอง

สาเเหตุที่บริษัท Ross ปิดตัวลง

จากนั้นบริษัท Ross Intelligence ปิดตัวลง ในปี 2021 สาเหตุจากไม่มีเงินทุนในการต่อสู้คดีนี้และการพัฒนาบริษัทนี้อีก 

Ross จะอ้างว่า วิธีนี้เป็น “การใช้งานอย่างยุติธรรม” (fair use) 

ในการพิจารณาคดี ศาลใช้ 4 ปัจจัยหลัก ของกระบวนการอย่างยุติธรรม

4 ปัจจัยหลักของกระบวนการยุติธรรม

  1. วัตถุประสงค์ : Ross ใช้ข้อมูลเพื่อสร้างแพลตฟอร์ม AI ที่แข่งขันกับ Westlaw
  2. ลักษณะของเนื้อหา : หัวข้อสรุปและคำอธิบายประกอบเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ชัดเจน
  3. ปริมาณที่คัดลอกข้อมูล : Ross ใช้ข้อมูลจำนวนมากอย่างเป็นระบบ
  4. ผลกระทบต่อตลาด : การกระทำของ Ross ลดมูลค่าและทำให้ Westlaw เสียหาย

ศาลตัดสิน

Stephanos Bibas ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์สหรัฐฯ ในรัฐเดลาแวร์ กล่าวว่า Thomson Reuters ชนะ 2 ใน 4 

Ross ตั้งใจจะแข่งกับ Westlaw เพื่อพัฒนาแทนที่ Reuters และยังไปหาบริษัทอื่น อย่าง LegalEase ซื้อ ชุดข้อมูลของคำถามและคำตอบของทนายความ มาฝึกเทรนด์ข้อมูล เพื่อแก้ต่างกับข้อมูลที่ใช้ฝึกก่อนหน้านี้  

แต่ Bibas ยังตัดสินเข้าข้าง Thomson Reuters ในประเด็นเรื่อง การใช้งานอย่างเป็นธรรม หรือ (Fair Use Doctrine) ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัท AI หลายแห่งใช้เป็นข้ออ้างในการป้องกันตัวจากข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์

แม้ว่า แอนดรู อาร์รูดา CEO ของ Ross พยายามแก้ต่างว่าข้อมูลพวกนี้เป็นแค่ “ข้อมูลรบกวนที่เข้ามาเสริม” และ AI ของพวกเขาเรียนรู้โดยตรงจากกฎหมายเอง แต่หลักฐานของ Reuters แสดงชัดเจนว่ามีการคัดลอกจริง

Bibas กล่าวว่า ข้อแก้ตัวที่เป็นไปได้ทั้งหมดของรอสไม่มีอะไรสมเหตุสมผล

หลังเหตุการณ์จบลง

หลังจากเหตุการณ์นี้จบลง เจมส์ กริมเมลแมน ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายดิจิทัลและอินเตอร์เน็ต ออกมาพูดตรง ๆ ว่า คำตัดสินของ Bibas บ่งบอกว่า คำพิพากษาของบริษัท AI นี้ใช้อ้างอิงเพื่อใช้งานอย่างยุติธรรมที่ไม่ตรงประเด็น

และคริส แมมเมน Partner จากบริษัทกฎหมาย Womble Bond Dickinson เห็นด้วยกับคำตัดสินของ bibas ว่า ทำให้ข้อโต้แย้งเรื่องการใช้งานอย่างยุติธรรมของบริษัท AI ซับซ้อนขึ้น แสดงถึงการไม่สามารถเอาข้อมูลมาใช้งานอย่างยุติธรรมได้

Jeffrey McCoy โฆษกของ Thomson Reuters ออกมากล่าวด้วยความยินดีครับว่า เนื้อหาของเขาได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ และไม่สามารถใช้งานได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากเรา เพราะกาคัดลอกข้อมูล ไม่ใช่ การใช้งานแบบ Fair ๆ

ข้อสรุป:

แม้ว่าศาลจะตัดสินให้ชนะแล้ว แต่คดียังไม่จบ Bibas กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะลูกขุนยังต้องพิจารณาคดีนี้ด้วยวิธีพื้นฐานต่อไป

Note: เครื่องมือ AI สามารถใช้เป็นข้ออ้างในการ Fair Use ได้หรือไม่ เพื่อปกป้องจากการใช้งานลิขสิทธิ์ได้หรือไม่

Source:

Wired, TheVerge, Reuters, Document Cloud, Variety, HollywoodReporter