ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่า เคยประชุมมีการพูด เรื่อง การเปลี่ยนแปลงในปี 2560 เมืองไทยต้องมีการปรับเปลี่ยน และเตรียมตัวรองรับเทคโนฯ เกิดขึ้นเรื่อง การพัฒนาคน, การพัฒนาอุตสาหกรรม, การพัฒนาให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีดิจิทัล ไปสู่การใช้งานจริง

เทคโนโลยีที่ว่า มี 3 อย่าง

1. Data ไม่ได้เกิดจากข้อมูลเชิงสถิติอย่างเดียว เป็น Data เกิดจากโลก E-Commerce, Social Media, Sensor จัดเก็บข้อมูลไว้สักที่นึง ที่สามารถสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว

2. Cloud Computing ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง Hardware ต่าง ๆ พวก Supercomputing, AI ที่มีสื่อสารผ่าน Cloud ทำให้เกิดความชาณฉลาด จับพฤติกรรมของมนุษย์และ Bot ที่ถูกสร้างจาก Software จึงเกิด Automation

3. Connectivity (5G) ทำงานโดยสื่อสารผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่มีความรวดเร็วมากขึ้น

เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีข้อมูลที่ถูกสอนผ่าน AI เหล่านั้น จะทำให้ Data ส่วน แรกที่มีการสื่อสาร ทำงานฉลาดขึ้น มี Defect ทางด้าน Solution และความคิดน้อยลง เรียกว่า AI Foundation ขึ้นมา

หากเตรียมคนไม่ทัน อาจจะถูกมองว่าเป็นประเทศหรือประชากรที่ล้าหลังลงเรื่อย ๆ

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่า ใครที่รีบบอกว่า ไทยต้องพัฒนา Foundation บอกเลย ยังไม่ได้ เพราะยังไม่มีเงินทุนพอในการทำ Big Data แล้วเกิดการเป็น AI Foundation Service ได้

แต่ถ้าเราเป็นผู้ใช้ที่ชาญฉลาด ด้วยการเอา Foundation ที่เกิดขึ้นในระดับ Global มาแปรสภาพให้ผสมผสานกับข้อมูลทีมีอยู่ในมือ เช่น ข้อมูลสุขภาพ, การแพทย์, ประชากร, เกษตร, การจราจร และโลจิสติกส์ มาสอนในเชิง Sectoral based เป็นกลุ่มของ Agenda, Issue ทำให้ AI มี specific ใน การ ตอบโจทย์ แบบ unique ตอบโจทย์

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทย ตั้งแต่ปี 2560 ถูดพูดถึงมาตลอด เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี แต่ก็ปล่อยผ่านมาตลอด ดังนั้นการเตรียมพร้อมกับการที่จะวางแผนให้เกิดภาพอนาคต

หากเกิดขึ้นแล้ว เราต้องมองการณ์ไกล วางแผนตั้งแต่ตอนนี้ครับ

สถานการณ์เศรษฐกิจไทย

ผศ.ดร.ณัฐพล ได้เพิ่มคำถามชวนให้คิดต่อว่า ถ้าปัญหาเกิดขึ้นแล้ว แก้ไม่ทัน จะมีคำถามตามมา คือ หากคนไม่มีเราก็ Recruit จากคน Unskill labor ฝึกให้เป็น Skill Labor

ด้วยการเอาแรงงานต่างประเทศ ปั้นคน เพื่อสร้าง Developer, Data Engineer, Quantum เพื่อเติมเต็มสิ่งที่คนไทยไม่ได้เรียนหรืออยากเพิ่มพูนในด้านทักษะในระยะสั้นครับ และหลังจากนั้น ถ้าผลิตคนได้ เราค่อยหยุด recruit คนเหล่านี้

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่าถึงข้อดีของไทยว่า โครงสร้างพื้นฐานไทยดี การใช้ให้เกิดประโยชน์จากโครงสร้างนี้ คือ แอพฯ ไทย เปลี่ยนแปลงธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นการผลิต เป็น ค้าปลีก-ขายส่งและเป็น Product, Platform ทั้งหมดนี้มาอยู่ที่บนมือถือ

ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูก Disrupt โครงสร้างเศรษฐกิจแบบเดิม ๆ ค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ ขนส่งต่าง ๆ จะต่ำลง

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวเสริมและสำคัญมาก ๆ ว่า สิ่งที่เมืองไทยต้องเร่งทำบนโครงสร้างเศรษฐกิจ คือ หาทางออกเล็ก ๆ ที่สร้างจาก Tech, ภูมิปัญญา เรียกว่า ทรัพย์สินทางปัญญา ผ่านโลก Physical หรืออะไรก็ได้ที่เกิดจากงานวิจัย แล้วสามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ ต้องรีบจด เพื่อให้เป็นเจ้าของและมีอำนาจเจรจาต่อรอง

หรือ อีกวิธีนึง คือ ไทยต้องแก้กฎหมาย, กฎระเบียบและการเปลี่ยนแปลง รองรับเทคโนฯ ให้ทันผ่านโลก

แผนงาน Depa มี 2 เสาหลักควบคู่กับการพัฒนา GDP และ Productivity

1. การยกระดับคน

2. การเปลี่ยนแปลงเชิงกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ

แผนภาพ Depa

ทางออก คือ ทำให้คนไทยทั้งประเทศ พัฒนาการศึกษาด้วยธุรกิจด้วยทักษะ Digital + AI มี 3 อย่าง

Digital + AI 3 อย่าง

1. Skill for All เพิ่มพูนทักษะให้ครอบคลุม สอนให้รู้หลาย ๆ เรื่อง เช่น Literacy, ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์, ความรู้ทีสำคัญต่อการใช้ชีวิต

2. Driven Career สิ่งที่เรียนจบมา ไม่รองรับกับสิ่งที่จะต้องนำมาใช้ในโลกการทำงาน จึงหาทางออกด้วยการสร้างหลักสูตรร่วมกับ Global Tech สร้างหลักสูตร 9 Career Part ให้เด็กเพิ่งจบเรียนต่อได้ตามทักษะที่ตลาดงานเทคฯ ที่ขาดแคลน เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวทันยุคสมัย

3. Professional Skill สิ่งที่ต้องการแรงงาน เช่น Data engineer, Blockchain engineer, ฟิสิกส์ Quantum, Cloud Computing ด้วย แล้วก็กลุ่ม Teleco

การพัฒนาทักษะ Digital ในไทย ยุค 5G

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวสุดท้ายว่า เราต้องพัฒนาคนอย่างมี Accountability และ Responsibility ให้คนสร้าง ทรัพย์สินทางปัญญา ให้เกิดประโยชน์ครับ

ข้อสรุป:

ผลกระทบอย่างรวดเร็วและรุนแรงของ AI ต่อทุกภาคส่วน ต่อเศรษฐกิจและรูปแบบธุรกิจ ซึ่งนำมาสู่ความจำเป็นเร่งด่วนที่ ผู้นำและผู้บริหารองค์กรต้องตระหนักและปรับตัว อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การให้ความสำคัญกับ การสร้างและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในยุคดิจิทัล ควบคู่กับพัฒนาทักษะบุคลากรให้ทันต่อเทคโนโลยีใหม่ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดและความสามารถในการแข่งขันขององค์กรและประเทศไทยโดยรวม

ดังนั้น ผู้นำองค์กรจึงควรติดตามข่าวสารและแนวโน้มด้าน AI และทรัพย์สินทางปัญญาอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมที่จะปรับกลยุทธ์และพัฒนาบุคลากรเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้อย่างจริงจัง

Source:

Depa Live สด, Visual Note, Gartner